ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน และ ภาษีบำรุงท้องที่

คลินิกทันตกรรม จะต้องชำระภาษีท้องถิ่น 3 รายการได้แก่

ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่

คำถามที่สงสัย คือ ภาษี 3 แบบนี้ เราจะต้องไปชำระที่ไหน

อันนี้สบายมากครับ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่เทศบาลเดินมาหาเราที่คลินิก พร้อมยื่นจดหมายและแนบแบบฟอร์มเรียบร้อย (สะดวกสุดๆ ๕๕๕) หน้าที่ของเราคือกรอก แนบเอกสารที่เขาต้องการ และเอาไปยื่นพร้อมชำระภาษี เท่านั้นเอง

รายละเอียดว่าภาษีแต่ละตัวคืออะไร ลองมาทำความเข้าใจกันนะครับ

1.ภาษีโรงเรือน

เป็นภาษีที่เราจะต้องจ่าย ถ้าตึก หรือ อาคารที่เราใช้นั้นกระทำเพื่อประกอบกิจการ หรือ ธุรกิจ

เพราะฉะนั้น ถ้าใช้อยู่อาศัยอย่างเดียว จะไม่ต้องเสียภาษีอันนี้

ส่วน คลินิกทันตกรรม ต้องจ่ายแน่นอน

อัตราภาษี

อยู่ที่ร้อยละ 12.5 ของค่าเช่าทั้งปี ชำระปีละ 1 ครั้ง

แปลว่า ถ้าคลินิกทันตกรรม เช่าเจ้าของตึกในอัตราเดือนละ 10000 บาท แปลว่ามีรายรับทั้งปี ทั้งสิ้น 120,000 บาท เราจะต้องถ่ายภาษี 12.5 x 120,000 / 100 = 15,000 บาท

ถ้าในกรณีเจ้าของตึก และเจ้าของคลินิกเป็นคนเดียวกัน ก็จะไม่มีหลักฐานของค่าเช่าตึกเพราะอ้างได้ว่าเป็นตึกของตัวเองก็เลย จะมีเจ้าหน้าที่มาประเมินให้เสร็จสรรพ เย้ๆ

เพราะฉะนั้น ยิ่งค่าเช่าสูง ก็ยิ่งต้องจ่ายภาษีสูง ….

*** คำถามสำคัญ ในกรณีที่เราเช่าตึกเพื่อทำกิจการ ใครเป็นคนจ่ายภาษีโรงเรือน ?? ระหว่างคนเช่าตึก (หมอ) หรือ เจ้าของตึก ??

อันนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน ของผู้เช่า และ ผู้ให้เช่า

เพราะฉะนั้น สิ่งนี้จะต้องมีปรากฎชัดเจนตอนทำสัญญาเช่าตึก และต้องตกลงกันให้ชัดเจนเป็นที่เรียบร้อย ไม่งั้นได้เกี่ยงกันจ่ายแน่นอน และมีดราม่าตามมา 100%

 

      2.  ภาษีป้าย

เนื่องจากป้ายเราทำเพื่อการค้า ทางภาครัฐก็เลยอยากขอเก็บภาษีสักกะหน่อย

ก็อย่างที่บอกครับ จะมีเจ้าหน้าที่เดินมาหาเรา และวัดให้เสร็จสรรพ เราก็ไปจ่ายเท่านั้นเอง เป็นหน่วยงานรัฐไม่กี่ที่ ที่มา Delivery ให้ถึงหน้าคลินิกทันตกรรม อิอิ

อัตราภาษี
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่น คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

3. ป้ายดังต่อไปนี้ คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
* ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่
* ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่า อักษรต่างประเทศ

4. ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้วเสียภาษีต่ำกว่า 200 บาทให้เสียในอัตรา 200 บาท

Tips :

  • ถ้าอยากประหยัด แนะนำให้ใช้ภาษาไทยล้วน ภาษีจะถูกมากๆๆๆๆๆๆๆ
  • ถ้าเป็น โลโก้ หรือ ภาษาอังกฤษล้วน ภาษีจะแพงขึ้นเป็น 10 เท่า มันทำให้เราลังเล จะเอาแบบไทยๆ ง่ายๆ ตรงไปตรงมา และราคาถูก หรือ อยากได้แบบอินเตอร์ มีโลโก้ชัดๆ ให้แบรนด์โดดเด่น ก็จะแพง
  • ป้ายในที่นี้ คือ ทุกป้าย สมมุติมีป้าย Oral B หรือ VISA ก็จะถูกนับรวมด้วย

 

3.ภาษีบำรุงท้องที่

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน

อัตราภาษี
* จะเสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบ รายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง
* ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่าของอัตราปกติ

 

โลโก้ กับ การสร้างแบรนด์ สำหรับคลินิกทันตกรรม

โลโก้ สำหรับคลินิกทันตกรรม สำคัญอย่างไร ?

โลโก้ จำเป็นต้องมีไหม ? ไม่มีได้ปะ ?

เราหาก๊อปปี้ โลโก้ ของคนอื่น จากใน Google ได้ไหม ?

ถ้าจะออกแบบ ต้องมีขั้นตอนอย่างไร ?

ผมชื่อ เอกชัย ธรรมฐิติพงศ์ (เรียกผมว่า เอก นะครับ อ่อ  อีกชื่อคือเป็ด …เพื่อนๆมันเรียก)

ผมทำงานด้านการออกแบบโลโก้ให้กับองค์กร บริษัท และธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึง คลินิก

โลโก้นี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการสร้างแบรนด์ เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากแต่กลับถูกละเลย หรือ ไม่ให้ความสำคัญ ทำให้การสร้างแบรนด์เกิดปัญหา ติดขัด และคลุมเครือตลอดเส้นทาการทำธุรกิจ

ผมได้รับมอบหมายจากคุณหมอมด ให้ช่วยมาแชร์ความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนี้ ซึ่งผมมีความยินดียิ่ง

บทความนี้ผมจะมาตอบคำถาม 4 ข้อด้านบนนี้ ซึ่งเป็นคำถามของผู้ที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกคน ในทุกธุรกิจ

1.โลโก้ สำหรับคลินิกทันตกรรม สำคัญอย่างไร ?

โลโก้สำหรับห้างร้านหรือแบรนด์ต่างๆมีความสำคัญมากนะครับ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์ มันเป็นตัวแทนของแบรนด์/เจ้าของ ที่สื่อหาลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ

ยกตัวอย่างเบื้องต้นง่ายๆเลยครับ คลินิก….. ถ้าไม่มีชื่อคลินิก….. ทุกคนจะอธิบายไม่ถูกว่าตึกแถวตรงนี้หรืออาคารหลังนี้มันคืออะไร คนเดินทางผ่านหน้าอาคารก็ยังไม่รู้เลยว่าตรงนี้คืออะไรแล้วก็คงจะผ่านไปเฉยๆ หรือถ้ารู้แล้วก็จะบอกทางไปคลินิกให้กับคนอื่นที่อยากแนะนำให้มายังคลินิกยังไม่สามารถทำได้ หรือทำได้ยาก

แล้วถ้าลงลึกลงไปถึงโลโก้ สมมติว่าคลินิกข้างต้น ทำป้ายชื่อคลินิกขึ้นมา พื้นสีเขียวและใช้ตัวหนังสือสีขาวว่า “คลินิกทันตกรรม” ลูกค้าก็จะรู้ได้ทันทีว่าตรงนี้คือคลีนิคทำฟัน แต่คนที่อ่านหนังสือไม่ออกหรือคนต่างชาติย่อมไม่รู้จัก และไม่รู้ว่าคืออะไร

แต่ถ้าคลินิกเพิ่มเติมรูปฟันเข้าไปในป้าย นั่นเป็นภาษาที่ทุกคนทั่วโลกรู้ร่วมกันว่ามันคือรูปฟัน แสดงว่าร้านตรงนี้หรือคลินิกตรงนี้ต้องทำกิจกรรมอะไรสักอน่างเกี่ยวกับฟัน

รูปฟัน ที่ผมกล่าวถึง เป็นเสมือนสัญลักษณ์ ที่มองแว๊ปเดียวก็รู้ทันที ว่าคือคลินิกทันตกรรม ไม่ต้องตีความ ไม่ต้องแปลใดๆทั้งสิ้น

แล้วสมมุติว่าทุกคลินิกทันตกรรม ใช้โลโก้รูปฟันและโทนสีป้ายเขียวขาวเหมือนกันหมดตามตัวอย่างขั้นต้น แล้วคลินิกแต่ละแห่ง…..จะแตกต่างกันอย่างไร ?  ให้บริการแตกต่างกันอย่างไร ?  มีเทคโนโลยีที่ต่างกันอย่างไร ?

การรับรู้ของผู้ใช้บริการจะเข้าว่าทุกๆคลินิกทันตกรรม ให้บริการเหมือนกันทุกที่ทันที แล้วอาจจะเหมารวมไปในทันทีว่าทำฟันที่คลินิกใหนก็เหมือนกันไปโดยปริยาย

การทำโลโก้ของคลีนิคทันตกรรมในทุกวันนี้จะเห็นความคล้ายกันและความแตกต่างกันในแต่ละคลีนิค แต่จะมีจุดร่วมเหมือนกัน คือรูปฟันและรูปน็อต (รากฟันเทียมรึเปล่าผมไม่แน่ใจ) สองรูปนี้เป็นหลักจึงเป็นอะไรที่เป็นคล้ายภาษาสากล และถ้ามาดูในรายละเอียด จะพบว่ามีจุดแตกต่างกันที่โทนสี ตัวหนังสือ หรือฟ้อนต์ตามที่นักออกแบบเรียกกันเป็นหลัก (แต่สุดท้ายฟ้อนต์ที่ได้รับความนิยมก็จะมีไม่มาก มีความคล้ายคลึงกันเสียส่วนใหญ่)

ผมจึงตอบคำถามข้อ 1. ที่ว่า โลโก้ สำหรับคลินิกทันตกรรม สำคัญอย่างไร เรียบร้อย นั่นคือ เพื่อสร้างความต่าง เพิ่มการรับรู้ด้วยสัญลักษณ์

2.โลโก้ จำเป็นต้องมีไหม ? ไม่มีได้ปะ ?

ผมมองไปทางไหน ก็เห็นคลินิกเยอะเติมไปหมด แม้ผมไม่ใช่หมอฟันแต่รู้เลยว่าคงแข่งขันกันมาก (สังเกตุจาก โปรโมชั่น ที่เยอะไปหมด) แต่เชื่อไหมครับ ว่าทุกวันนี้ผมที่ขับรถหรือเดินผ่านคลินิกแต่ละแห่ง ผมแยกไม่ออกว่าคลินิกแต่ละแห่งแตกต่างกันอย่างไร

แต่โลโก้นี้เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สื่อถึงความแตกต่างได้นะครับ

ขอเล่าสักเรื่องให้เห็นภาพ

ผมได้ไปใช้บริการคลินิกทันตกรรม สิ่งที่ทำให้ผมไปทำฟันซ้ำคือบริการจากหมอที่มือเบาทำแล้วเจ็บน้อย/พยาบาลในคลินิก ที่บริการจนทำให้เรารู้สึกชอบใจอยากไปซ้ำ แต่ก็ยังมีคนรู้จักมาแนะนำคลินิกทำฟันใหม่ๆ(ที่พวกเค้าใช้บริการอยู่แล้วชอบใจ) อยู่เรื่อยๆ “ตรงนี้ดีนะ” “ตรงนี้ราคาไม่แพงนะ” “ตรงนี้หมอมือเบามาก” หรืออะไรก็แล้วแต่

ฉะนั้นคนที่จะเปิดคลินิกจะต้องคิดถึงภาพลักษณ์ที่ตัวเองต้องการจะสื่อไปถึงผู้ใช้บริการก่อนว่าเราต้องการให้ผู้ใช้บริการมองเราหรือเข้าใจว่าเราเป็นคลินิกแบบใหน คลินิกทันตกรรมเด็ก คลีนิคทันตกรรมสำหรับวัยรุ่น คลินิคทันตกรรมทั่วไป หรือคลีนิคทันกรรมแบบใด เพราะแต่ละชนิดต้องใช้การออกแบบโลโก้รวมไปถึงการออกแบบตกแต่งภายในที่ต่างกัน

เพราะฉะนั้น โลโก้ ในมุมมองของผมจึงสำคัญมาก เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและสำคัญ

แต่ถึงจะสำคัญ แต่ก็มีหลายคลินิกเอาง่ายโดยการก้อปปี้มาจาก Google

3.เราหาก๊อปปี้ โลโก้ ของคนอื่น จากใน Google ได้ไหม ?

 

Image result for tooth cartoonImage result for tooth cartoonImage result for tooth cartoonImage result for tooth vector

 

รวมภาพฟัน ที่โดนใช้ซ้ำ และเห็นบ่อยมากๆ

ถ้าถามว่าเราจะสามารถก็อปปี้จากอินเตอร์เน็ตหรือ Google หรือแบรนด์จากเมืองนอกมาได้มั้ย ถ้าเจอแบรนด์ที่เราชอบใจมากๆอยากได้มาใช้จริงๆ

การก็อปปี้รูปหรือโลโก้แบรนด์เป็นสิ่งที่ไม่แนะนำนะครับ

เพราะสิ่งที่จะต้องเจอแล้วจะทำให้เราปวดหัวมากๆ คือ

  • ลิขสิทธิ์

รูปบางรูปในอินเตอร์เน็ตมีลิขสิทธิ์ ไม่สามารถนำมาใช้ได้เลยโดยไม่ได้รับอนุญาตนะครับ อาจตะโดนร้องเรียนหรือฟ้องร้องค่าเสียหาย หรือโดนขอให้เลิกใช้ไปเลย ลองคิดดูครับเรากำลังทำคลินิกอยู่มีลูกค้าอยู่ในระดับนึง แล้วเราต้องมาเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนแบรนด์นี่มันหายนะมากนะครับ เหมือนกับเราต้องมาเปิดคลินิกใหม่อีกทีลูกอาจจะหายไปเพราะคิดว่าเจ้าเดิมปิดไปแล้วเปลี่ยนเจ้าใหม่ไปแล้ว เราต้องมาเริ่มต้นใหม่หมดเลยครับ โปรโมทใหม่ จัดโปรโมทเพื่อเรียกลูกค้าเดิมกลับมา เสียทั้งเงินเสียทั้งเวลา เสียความรู้สึก

ถ้าชอบรูปในอินเตอร์เน็ตแล้วอยากใช้จริงๆแนะนำให้ติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพซื้อภาพเพื่อนำมาใช้นะครับ

แต่แน่นอนครับเค้าไม่ได้ขายให้เราคนเดียว วันดีคืนดีเราอาจจะเจอคลินิกที่มีรูปโลโก้เหมือนกับเราก็ได้ 55

  • เราอาจจะโฆษณาให้เค้าไปในตัว

แทนที่เราจะโฆษณาแบรนด์ตัวเอง ลูกค้าอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าเค้ามาเปิดสาขาสองโดยที่เราเป็นคนดูแลให้เค้านะครับ แล้ววันดีคืนดีเค้าก็อาจจะมาฟ้องขอให้เราเลิกใช้โลโก้เดียวกันในภายหลังก็ได้ แล้วก็ต้องไปวนลูปการเปิดร้านใหม่อย่างที่กล้าวไว้ข้างบน

การทำแบรนด์สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดคือความโรยัลตี้จากลูกค้านะครับ ลูกค้ามาใช้แล้วถูกใจกลับมาใช้ซ้ำ บอกต่อและขักชวนคนรู้จักมาใช้บริการต่อไปครับ อย่าไปโฆษณาให้คนอื่นแทนแบรนด์เรา หรืออย่านำรูปไม่มีลิขสิทธิ์มาใช้จนโดนฟ้องร้องขอให้เลิกใช้เลยครับ เพราะหมายความว่าแบรนด์ที่เราปั้นอยู่แล้วลูกค้าซึ่งกำลังจะโรยัลตี้กับแบรนด์เราจะหายไป แล้วต้องมาเริ่มต้นหนึ่งใหม่อีกรอบ มันปวดหัวนะครับ

4.ถ้าจะออกแบบ ต้องมีขั้นตอนอย่างไร ?

เมื่อเราเสาะหาคนออกแบบให้เราได้แล้ว ผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องขอข้อมูลจากคุณหมอดังนี้

1.ชื่อแบรนด์/คลีนิค

2.กลุ่มลูกค้าที่จะมาใช้บริการของแบรนด์ (เด็กต้องมีตัวการ์ตูนมั้ย/วันรุ่นต้องดูวัยรุ่นหน่อย/คนแก่ต้องเอาให้เห็นขัดๆอ่านง่ายๆ)

3. เจ้าของต้องการให้คนมองแบรนด์/คลีนิคเราเป็นอย่างไร (สนุกสนาน/เคร่งขรึม/เฟรนด์ลี่ ฯลฯ)

4.เรตราคาการใช้บริการ (หรูหราหรือราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้)

4.โทนสีที่ต้องการ (ผู้ใช้บริการบางคนจำร้านได้เพราะสีอย่างเดียวก็มี)

5.และรายละเอียดปลีกย่อยอีกตามแต่ละแบรนด์กำหนด

ที่สำคัญคือ ***เจ้าของคลินิกต้องตอบโจทย์เหล่านี้ให้ได้ก่อนเบื่องต้น ต้องรู้จักตัวเองในระดับนึงถึงจะสร้างความแตกต่างของแบรนด์ออกมาได้

จากนั้นจึงมีการส่งแบบ แก้ไข จนเสร็จสิ้นเรียบร้อย

ถ้าคุณหมอมีสิ่งใดอยากปรึกษา แวะมาคุยกันได้ที่ เพจ duckyoutoo studio

ขออนุญาติโฆษณา ว่าท่านใดที่ต้องการให้ผมออกแบบให้ เพียงบอกว่าได้อ่านบทความนี้ ในเวปนี้ ผมยินดีมอบส่วนลดพิเศษให้คุณหมอ 10% สำหรับการทำโลโก้

ขอให้คุณหมอที่กำลังตั้งใจจะเปิดคลินิกใหม่โชคดีและมีความสุขนะครับ

เอกชัย ธรรมฐิติพงศ์ (เอก)

B.A , MD : M.A.D media art and design

Admin เพจ duckyoutoo studio

การขออนุญาติ เพื่อเปิดคลินิกทันตกรรม

 

สถานพยาบาลจะต้องได้รับการขออนุญาติตามกฎหมาย มิเช่นนั้นจะถือว่าเป็นสถานพยาบาลเถื่อน และมีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี ปรับอีกหลายหมื่น

 

ตกแต่ง คลินิกทันตกรรม : ข้อคิดก่อนเลือกผู้รับเหมา

ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับข้อคิดในการเลือก ผู้รับเหมาตาม link ข้อคิดการจ้างผู้รับเหมา หรือ ช่าง เพื่อตกแต่ง คลินิกทันตกรรม

 

 

 

ลิ้งที่เกี่ยวข้อง

ข้อคิดการจ้างผู้รับเหมา หรือ ช่าง เพื่อตกแต่ง คลินิกทันตกรรม