2.ทำเล

ทำเลส่วนตัวผมแนะนำว่าให้ใจเย็น เพราะพลาดแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้ และทำเลเป็นอะไรที่ต้องใช้มุมมองทางการตลาดมาช่วยพิจารณาร่วมด้วยเสมอ

Image result for survey marketing

ผมเคยพบคลินิกที่เปิดเพียงสามเดือน และปิดตัวเพื่อไปเปิดที่ใหม่ เพราะรู้ตัวว่าทำเลตัวเองไม่ดี ถือว่ากล้าหาญมากทั้งทีเพิ่งลงทุนไปหมาดๆ และก็มีไม่กล้าย้ายเพราะเสียดายค่าตกแต่ง แล้วก็ทนเปิดทั้งๆที่ทำเลไม่ดี

ลิ้งค์บทความ ทำเลที่ดีในการเปิดคลินิกทันตกรรม

ทั้งนี้ ทำเลที่ “เคยดี” สักวันนี้อาจจะเป็นทำเลที่ “ไม่ดี” ได้เหมือนกันนะครับ

ยกตัวอย่างในกรุงเทพมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าใหม่ๆหลายเส้นทาง ทำให้รถติดมากเป็นประวัติการณ์ ถ้าบวกกับมีเหตุการณ์เช่น ฝนตกน้ำท่วม หรือ รถชน จะหนักขึ้นอีกสุดๆการก่อสร้างนี้ทำให้เกิดผลกระทบกับคลินิกหลายแห่ง เพราะพฤติกรรมของคนที่อาศัยในย่านนั้นเปลี่ยน

ยกตัวอย่าง ย่าน M

ย่าน M เป็นย่านที่มีมหาลัย จึงมีนักศึกษาเรียนหลักหมื่นคนทุกปี หอพักอาพาร์ตเม้นรายล้อมเพียบ เดินทางสะดวกทั้ง รถเมล์ผ่านหลายสาย เรือก็มี ร้านค้ารายล้อมมหาลัยก็ตรึมไปหมด ถือว่าเป็นสวรรค์สำหรับนักศึกษาเลย

นอกจากนักศึกษา ยังมีพนักงานบริษัทที่เงินเดือนไม่สูงมาก หรือ นักศึกษาเพิ่งจบและกำลังเพิ่งทำงานใหม่ๆ ก็อยากอยู่ในย่านนี้ เพราะเดินทางง่าย หาของกินไม่แพง ก็จะมาเช่าอพาร์ตเม้นในย่าน M อยู่กันเยอะ ทำให้ย่าน M มีคนหนาแน่นมาก

และด้วยความที่ย่าน M ที่กินที่เที่ยวเยอะ ก็จะมีคนจากย่านอื่นเดินทางมาช้อป มากิน มาเที่ยวบ่อยๆ ย่าน M จึงคึกคักทั้งจากคนที่อาศัยในย่านนั้นและคนนอกที่เดินทางมาจับจ่าย ซึ่งแน่นอนก็ย่อมมีคุณหมอหลายคนมาเปิดคลินิกในย่าน M ทำให้บริเวณนี้มีคลินิกเปิดกันหนาแน่นแข่งกับ 7-11 เลยที่เดียว

แต่พอมีการสร้างรถไฟฟ้าเท่านั้น ถนนที่เคยกว้างก็โดนลดช่องจราจร รถติดทั้งวันทั้งคืน มีการทำลายสะพานลอยบางจุดทำให้เดินทางลำบาก

คนกลุ่มทำงานบริษัทที่เป็นกลุ่มคนที่มีเงินเดือน และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ย่าน M มีเม็ดเงินหมุนเวียนเริ่มตัดสินใจย้ายออกจากย่าน M เพราะทนรถติดไม่ไหว แล้วเลือกที่จะย้ายไปใกล้ที่ทำงานมากขึ้นเพื่อตัดปัญหาการเดินทาง

คนนอกที่เคยชอบแวะเข้ามาช้อป ชิม ชิว ก็ขี้เกียจฝ่ารถติด เพราะมันไม่สะดวกสบายเหมือนแต่ก่อน ก็เลือกไปที่อื่นที่ใกล้กว่า และรถติดน้อยกว่าแทน

บวกกับเศรษฐกิจไม่ดีแล้วก็ยิ่งกระทบ เด็กมหาลัยที่เดิมที่ก็ไม่ค่อยมีเงินอยู่แล้วก็ยิ่งประหยัดเพราะที่บ้านก็ไม่มีเงินเหมือนแต่ก่อน

ทำให้ย่าน M มีคนสัญจรไปมาน้อยลงมากๆ เงินไม่สะพัด คนเดินน้อย และระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้น รวงร้านขายไม่ดี ทะยอยเจ๊ง ทะยอยเซ้งร้านค้า คลินิกในละแวกก็ได้ผลกระทบด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ถ้าเป็นแค่งานพัฒนาถนน หรือ ซ่อมสาธารณูปโภค ก็อาจจะกินเวลาหลักเดือน แต่รถไฟฟ้า กินเวลาเป็นปีๆ ทำเลที่เคยดีมากๆ ก็เหมือนโดนฉีดยาชาไปพักใหญ่ๆ

ถ้าเป็นปัจจัยภายใน คลินิกอาจจะหาทางแก้ง่ายกว่า แต่พอเป็นปัจจัยภายนอกแบบนี้คงทำได้แต่รับสภาพ เพราะยังไงก็หนี หรือ แก้ไขผลกระทบของการทำรถไฟฟ้าไม่ได้


ผมแนะนำเทคนิคส่วนตัวที่ผมประยุกต์เพื่อใช้ในการเสาะหาทำเลที่ดีในการเปิดคลินิกทันตกรรมไว้อย่างละเอียด ซึ่งเนื้อหาค่อนข้างเยอะ ท่านที่สนใจในส่วนนี้จะมีสอนในหลักสูตร Startup Dental Clinic (ลิ้ง) และคุณสามารถขอคำแนะนำจากผมเพิ่มเติมได้ ส่วนนี้ผมให้ความสำคัญมาก เพราะทำเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด


มีอีกคำถาม คือ เซ๊งคลินิกดีหรือไม่ อย่างไร

เรื่องนี้ผมมีประสบการณ์ตรงและเคยเล่าเป็น series ตอนยาวไว้ในเพจ ธุรกิจทันตกรรม ผมได้ทำการรวบรวมไว้ใน ลิ้ง เล่าประสบการณ์การเซ๊งคลินิก อาจจะออกขำๆหน่อย ถือว่าอ่านเอาสนุกละกันนะครับ

สารบัญ (ลิ้ง)

  1. การวางแผนธุรกิจ สำหรับการเปิดคลินิก
  2. การหาทำเล
  3. การตบแต่งคลินิก
  4. การวางระบบเวชระเบียน
  5. การเลือกซื้ออุปกรร์ทางการแพทย์
  6. การขอใบอนุญาติ
  7. การรับสมัครพนักงาน
  8. การเงิน บัญชี คลัง
  9. การตลาดและ พรบ.โฆษณา