พรบ. โฆษณา
พรบ.โฆษณา จะมีประกาศที่เป็นกฎหมายว่าด้วยระเบียบและวิธีปฎิบัติเกี่ยวกับการโฆษณาสถานพยาบาลที่คลินิกจะต้องปฎิบัติตาม ลิ้ง ต้นฉบับของ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล
ถ้าอ่านแล้ว ผมมั่นใจว่าทุกคนจะยังงงอยู่ ว่าสรุปแล้วเราสามารถโฆษณา ได้หรือไม่ แค่ไหน ใช่ไหมครับ
นั่นเป็นเพราะเอกสารราชการมักจะใช้ภาษาทางการ + ภาษากฎหมายที่เวลาอ่านแล้วต้องมานั่งแปลไทยเป็นไทยให้ปวดหัวบ่อยๆ คนเขียน เขียนแบบงงๆ คนอ่านก็ตีความสะเปะสะปะ ไปๆมาๆ สองฝ่ายเข้าใจในเนื้อสารต่างกัน และมักเป็นปัญหาเสมอ
พวกคำโฆษณาทางสาธารณะสุขมี guideline ไว้ให้คร่าว ๆ ตามนี้ ตัวอย่างข้อความและแนวทางการพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติข้อความ/ภาพ/การโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล
ทั้งนี้ในส่วนของผม ผมจะขอสรุปทั้งหมดออกมาใน “ในเชิงปฎิบัติ” ไว้ให้นะครับ ดังนี้
- ถ้าคลินิกมี เฟสบุ้ค หรือ เวปไซด์ จะต้องขออนุญาติ โดยการ Print หน้าแรก และกรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งอนุมัติ
- เวปไซด์จะต้องไม่มีข้อความใดที่เข้าข่าย โอ้อวด เกินจริง เป็นเท็จ และ ให้ข้อมูลอันนำไปสู่การเข้าใจผิด ถ้านึกอะไรไม่ออก ก็เน้นแค่แนะนำสินค้าและบริการ และแจ้งที่อยู่เปิดปิด
- ถ้าคุณมีคำขวัญ เช่น “คลินิกเรามีเป้าหมายจะดูแลสุขภาพฟันให้คุณอย่างดีที่สุด” เชื่อไหมครับ ว่าประโยคนี้ อาจเข้าข่ายโอ้อวดเกินจริง ซึ่งถ้าเจ้าพนักงานเป็นคนเข้มงวดมากๆ ก็ควรลบออกซะก่อนขออนุญาติ
- สิ่งที่เน้น และซีเรียสอันดับต้นๆ คือ การโฆษณาเกินจริง เช่น สวยเว่อร์ หมอจัดฟันเทพ คำพูดที่ใช้โฆษณาที่หน่วยงานรัฐมองว่าเป็นปัญหามากที่สุด และมักเกิดปัญหาจนฟ้อง สคบ. หลายครั้งมักมาจากประโยคเหล่านี้
- การโฆษณาที่สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาติใดๆ คือ ชื่อคลินิก และที่ตั้ง (ที่อยู่)
- โฆษณาประเภทอื่นๆ ต้องขออนุญาติ โดยแบ่งแบบประเภทที่ 1 และ 2
- ประเภทที่ 1 คือ การโฆษณาใดๆ ที่มีใจความดังนี้
- ชื่อของหมอ (บางคนคงสงสัยว่า เอ้ย แม้แต่แค่ชื่อหมอ ยังต้องขออนุญาติ ?? …….ใช่ครับ ผมเองก็ว่าไม่ค่อยจะ make sense เท่าไหร่ และผมก็คิดว่ามันควรจะต้องได้รับการพิจารณาแก้ไขในอนาคต)
- วุฒิต่างๆ เช่น ปริญญา วุฒิบัตร (ถ้าสงสัยว่าวุฒิแบบไหนบ้างที่จะขอได้ไม่ได้ อันนี้ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่จะพิจารณา ซึ่งเขาอาจจะปรึกษาทางสภาวิชาชีพทันตกรรม หรือ ราชวิทยาลัยอีกที)
- ความสามารถ ก็คล้ายๆ วุฒิ แต่อาจจะเป็นบางอย่างที่นอกเหนือ เช่น เกียรตินิยมอันดับ 1 เป็นต้น
- ประเภทที่ 2 คือ ทุกรูปแบบ ที่นอกเหนือจากแบบที่ 1
- ประเภทที่ 1 และ 2 มีค่าใช้จ่ายในการขออนุมัติตามอัตราที่แจ้งไว้ในเอกสารข้างต้น
- การใช้ Before-After สามารถกระทำได้ (เป็นประเภทที่ 2) แต่มีเงื่อนไข คือ เป็นภาพเคสที่มารักษาที่คลินิกจริงๆ คนไข้ยินยอมและเซนต์อนุญาติ ภาพต้องไม่ retouch หรือตกแต่งเพิ่มเติม และต้องมี ** ใต้ภาพข้อความว่า “ใช้เป็นตัวอย่าง ผลจากการเข้ารับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย” และเวลาด้วย ว่ากี่วัน เดือน ปี (คงกลัวว่าคนไข้จะเข้าใจผิดว่าสามารถทำเสร็จได้ใน 24 ชั่วโมง อะไรแบบนี้)
- การให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง วีดิโอ เป็นประเภทที่ 2 ก็ต้องเอาเนื้อหาหรือรูปแบบทีเราจะนำเสนอให้ทาง จนท.รัฐตรวจก่อน
- facebook live ทำได้ แต่ในการ Live จะต้องไม่ขัดต่อระเบียบที่กำหนด ซึ่งจะโฟกัสประเด็นที่เข้าข่าย โอ้อวด เกินจริง เป็นเท็จ และ ให้ข้อมูลอันนำไปสู่การเข้าใจผิด
- ถ้าคลินิกถูก สสจ.เรียกพบเพราะผิดข้อบังคับเรื่องโฆษณา มักจะเป็นเพราะมีคนไปฟ้อง สสจ.
การตลาดเบื้องต้น
การตลาดเป็นสิ่งที่คุณหมอจะต้องเรียนรู้เพิ่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าจะมาสายเปิดคลินิก ในส่วนนี้คุณหมอสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้แบบไม่มีค่าใช้จ่ายโดยการติดตามเพจ ธุรกิจทันตกรรม ลิ้ง
หรือถ้าคุณหมออยากลงทุนสักหน่อยผมมีหนังสือที่เขียนขึน ชื่อ การตลาดสำหรับคลินิกทันตกรรม เล่มนึงไม่แพงครับ อ่านไม่ยากเหมาะสำหรับทุกท่านที่เป็นมือใหม่หัดทำการตลาด ลิ้ง สำหรับสั่งซื้อ
ส่วนท่านใดอยากเรียนการตลาดสำหรับธุรกิจทันตกรรมจริจัง ผมมีคอร์สที่จัดสอนเองเป็นหลักสูตร Startup Dental Clinic รายละเอียดอ่านได้ในนี้นะครับ ลิ้ง
4 แนวทางสำหรับการทำการตลาดออนไลน์
คุณหมอหลายคนมาปรึกษาบ่อยๆว่า จะทำการตลาดออนไลน์แนวทางไหนดี ?
ระหว่าง
1.ทำด้วยตัวเอง
2.ใช้พนักงานในคลินิกทำ
3.จ้างคนมาทำ
4. จ้างคนนอกทำ (Out source)
ผมเคยผ่านทั้ง 4 แบบมาแล้ว และแต่ละแบบมีทั้งข้อดีข้อเสีย ทั้งนี้ถ้าในระยะยาวเราต้องการวางตัวเป็นผู้บริหาร ผมไม่เห็นด้วยกับการเสียเวลามาฝึกตัดต่อวีดิโอเอง หรือ ฝึกทำภาพกาฟฟิค แต่ควรรู้จักสร้างทีม หรือ จ้างคนที่ทำเป็นมารับงานส่วนนี้โดยมีคุณคอบควบคุมและกำหนดแนวทาง