การตกแต่งคลินิกถือว่าสำคัญ เปรียบเสมือนการแต่งตัวของคนเรา เป็นสิ่งที่ชาวบ้านชาวช่องมองและตัดสินเราจากรูปลักษณ์ภายนอก
มันจึงหมายถึงหน้าตา ภาพพจน์ สถานะ ภาพลักษณ์ และแบรนด์
ส่วนท่านใดที่ เซ๊ง คลินิกมาก็อาจจะไม่ต้องตกแต่งอะไร เพราะถือว่าคุณซื้อเสื้อมือสองคนอื่นมาสวมใส่ สวยไม่สวย โทรมไม่โทรม ก็แล้วแต่ที่ซื้อมา ถ้าเซ๊งมาแล้ว renovate เพิ่ม ก็อาจจะดูเหมือนใหม่ก็ได้
ผมได้เขียนบทความ “ถ้าจะออกแบบคลินิก แล้วไม่รู้จะเริ่มยังไง ลองนึกถึง 3 ส.” เป็นบทความขนาดสั้นที่ผมเขียนไว้นานแล้ว เป็นหลักการที่พื้นฐานมากๆของการออกแบบคลินิก
ลิ้ง ถ้าจะออกแบบคลินิก แล้วไม่รู้จะเริ่มยังไง ลองนึกถึง 3 ส.
คำถามยอดฮิต “ออกแบบคลินิก ต้องจ้างคนเขียนแบบไหม ?”
การเขียนแบบสำคัญมาก เพราะคือตัวกลางที่ใช้สื่อสาร ระหว่าง เรา(เจ้าของ) และช่างก่อสร้าง ถ้าปราศจากแบบ การสื่อสารจะเบอล ไม่ชัดเจน เข้าใจผิด เข้าใจถูกกันไปคนละทิศทาง
การเขียนแบบ เป็นการทำให้ภาพในหัวของเรา (คุณหมอเจ้าของคลินิก) ปรากฎออกมาให้เป็นรูปธรรม ที่มีขนาด และรายละเอียดที่ชัดเจน และทำให้เราสามารถเช็คได้ว่าช่างได้ทำงานตามแบบ หรือ ไม่
ถ้ามีความผิดพลาดใดๆ แบบที่ออกไว้จะเป็นหลักฐานเอามายืนยันได้ทั้งสองฝ่าย แปลน หรือ
แบบจึงสำคัญ ยิ่งคลินิกมีขนาดใหญ่ ยิ่งจำเป็น และผมคิดว่าคงไม่มีช่างคนไหนกล้ามารับงานมูลค่าหลายล้าน สเกลใหญ่ๆ โดยไม่มีแบบ
ขอบพระคุณ ภาพประกอบ Wide Smile Dental Clinic
ทพ.กิตตินันท์ จั่นตระกูลวัฒน์
การออกแบบคลินิก จะล้อไปกับ Function ของอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย เช่น ยูนิต กับเครื่องเอ๊กเรย์
ยูนิตทำฟัน จะต้องมีพื้นที่รอบๆ ที่กว้างพอที่จะให้ทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ทำงานได้อย่างสะดวก โดยมากจะกินพื้นที่กว้างและยาวประมาน 2.5 ถึง 3.0 เมตร และจะแคบลงไปอีกถ้ามีการ Built-in ตู้ อ่างล้างมือ ฯลฯ เราจึงควรจะต้องศึกษาและวางแผนให้ดี ร่วมกับขอคำแนะนำผู้แทนที่ขายอุปกรณ์ทันตกรรม
และมีรายละเอียดหลายอย่างที่ต้องออกแบบให้ตรงตามข้อบังคับของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ทางเดินส่วนที่แคบที่สุดต้องไม่น้อยกว่ากี่เมตร ความสูงจากพื้นถึงฝ้า การระบายอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้ของทันตกรรมจะไม่จุกจิกเท่าไหร่เมื่อเทียบกับสถานพยาบาลที่มีห้องผ่าตัด หรือ รับผู้ป่วยค้างคืน ลิ้ง กฎหมายและข้อบังคับของการเปิดคลินิก
อีกบทความเป็นงานตีพิมพ์ของ อ.ธิดาสิริ ภัทรากาญจน์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบทความนี้มีการส่งต่อกันเป็นที่แพร่หลายในวงการทันตกรรม ปกติสามารถหาโหลดได้จากการ search google ผมอ่านแล้วพบว่าเป็นบทความที่ดีมากๆ และละเอียด อ่านง่าย มีตัวอย่างชัดเจน
ห้อง Xray
ห้อง Xray เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องออกแบบเป็นพิเศษ ให้ถูกต้องตามข้อบังคับของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ห้องนี้จำเป็นจะต้องปรึกษาผู้แทนที่ขายเอ๊กเรย์ร่วมด้วย โดยมากทางผู้ขายจะให้คำแนะนำอยู่แล้ว ผมจึงคิดว่าไม่ใช่ประเด็นที่ซีเรียสมากนัก นอกจากจะซื้อมือสองมาใช้
ลิ้ง หลักการออกแบบห้องเอ๊กซ์เรย์ สำหรับคลินิกทันตกรรม
เกี่ยวกับ LOGO ของคลินิก
การตกแต่งจะต้องล้อไปกับการสื่อสารการตลาด และหลายท่านมักมองข้ามนั่นคือ Logo ของคลินิก ผมแนะนำว่าทุกท่านต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ ความสำคัญของโลโก้ด้วย
ลิ้ง บทความ โลโก้ กับ การสร้างแบรนด์ สำหรับคลินิกทันตกรรม